หมวดหมู่สินค้า

ในแต่ละวันเราใช้เวลานั่งอยู่กับโต๊ะทำงาน เป็นเวลาแล้วอยู่ที่ประมาณ 8-10 ชม. ต่อวัน และปฏิเสธไม่ได้ว่าบางคนอาจจะใช้เวลาในการนั่งทำงานมากกว่าใช้เวลาในการนอนอีกด้วยซ้ำ!!

ปัจจุบันจากสถิติ ผู้ป่วยกว่า 60% ที่เข้ารับการทำกายภาพบำบัดมากขึ้นในแต่ละปี ด้วย “อาการออฟฟิศซินโดรม” เมื่อตรวจสอบสาเหตุแล้ว พบว่า เกิดจากการนั่งทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ซึ่งส่งผลกระทบกับร่างกายหลายส่วน ทั้งระบบกระดูกสันหลังและเกิดอาการปวดกล้ามเนื้อแบบฉับพลันตามมา วันนี้เราจะมาบอกเคล็ด(ไม่)ลับให้ ทุกคนได้รู้กัน…

เลือกโต๊ะทำงานอย่างไรให้ร่างกายไม่พัง?

1. เลือกความสูงให้พอดี

ในขณะที่เราต้องนั่งทำงานเป็นระยะเวลายาวนาน ที่จะต้องก้มหน้าหรือเงยหน้า ตลอดเวลาใช้งาน ส่วนนี้จะทำให้กระดูกต้นคอต้องรองรับน้ำหนักของศีรษะของเรา การเลือกระดับความสูงของโต๊ะทำงานให้พอเหมาะพอดี ให้พร้อมรองรับกับสรีระในขณะนั่ง  จะส่งผลให้เรานั้นสามารถทำงานได้แบบสบาย ๆ โดยไม่มีอาการปวดเมื่อย หรือเกร็งบริเวณช่วงลำตัว 

ดังนั้น ความสูงของโต๊ะควรจะอยู่ในระดับพอดีกับความสูงของผู้ใช้งาน โดยจะอยู่ที่ประมาณ 70 – 90 เซนติเมตร   โดยยึดหลักที่ว่า เมื่อนั่งแล้ว ไหล่จะไม่ยกขึ้นตลอดเวลา สามารถผ่อนตัวและไหล่ได้อย่างอิสระ และสามารถวางเท้าราบกับพื้นได้ทั้ง 2 ข้าง

2. คำนวณขนาดพื้นที่ใช้สอย

ขนาดพื้นที่ใช้สอยบนโต๊ะทำงานเป็นส่วนสำคัญในการจัดวางอุปกรณ์ เราควรคำนวณขนาดความกว้างของโต๊ะทำงานให้มีความเหมาะสม โดยมีระยะห่างประมาณ 60 – 70 เซนติเมตร เพื่อจะมีพื้นที่ในการวางจอมอนิเตอร์ ให้อยู่ในระดับสายตา โดยที่ลำคอของเราสามารถตั้งตรงขณะนั่งทำงานได้ และจะช่วยถนอมสุขภาพของสายตาให้อยู่ในระดับที่พอดีได้อีกด้วย

ส่วนการวางเม้าส์ และคีย์บอร์ดนั้น ควรวางให้อยู่ในระดับเดียวกับข้อมือไม่วางห่างกันจนเกินไป หรือควรอยู่ในระยะประมาณ 1 ช่วงแขนของเรา ที่สามารถแตะขอบหน้าจอมอนิเตอร์ได้นั่นเอง และขณะนั่งทำงานข้อศอก ต้องงอเป็นมุมฉากได้ ไม่ยกขึ้น

“โดยโต๊ะการทำงานที่ดีนั้นจะถูกออกแบบให้มีขนาดพื้นที่ใช้สอยที่ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์ เพื่อจัดวางตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆ ให้มีความเหมาะสมหรือความพอดีกับการใช้งานนั่นเอง”

3. เลือกซื้อโต๊ะแบบปรับระดับได้

การนั่งทำงานในระยะเวลานานๆ ไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพเราในระยะยาวสักเท่าไหร่ ซึ่งการเลือกซื้อโต๊ะทำงานที่สามารถปรับความสูงได้ จะช่วยสร้างสมดุลให้ร่างกายได้แบบง่าย ๆ เพราะนอกจากเวลานั่งทำงานในระยะนาน ๆแล้ว ยังช่วยให้เราสามารถปรับเปลี่ยนอิริยาบถจากการนั่งทำงานสลับกับการยืนได้ในทุก ๆ เวลา เพื่อลดปัญหาการเกิดอาการออฟฟิศซินโดรม  นอกจากนี้ ยังช่วยให้เราสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น !

Liv Standing Desk

฿13,900.00฿19,900.00

โต๊ะปรับระดับไฟฟ้า Liv Desk ได้รับการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านสรีรศาสตร์ บนพื้นฐานแนวคิด Smart Productive & Ergonomic โรงงานผลิตได้ผ่านการรับรองมาตรฐานการผลิต JAS ของประเทศญี่ปุ่น และมาตรฐานระดับสากลอย่าง ISO9001 หายห่วงเรื่องคุณภาพ ด้วยระยะการรับประกันนาน 5 ปี กับโรงงานในไทย

เราเลือกใช้ไม้จากป่าปลูกที่มีการจัดการป่าไม้อย่างถูกต้องตามหลักการในระดับสากล มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาป่าไม้ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน

คุณสมบัติ

  • ระบบแสดงผลแบบ LED Display
  • Memory จดจำการตั้งค่า ความสูงได้ถึง 3 ระดับ
  • NEW Controller ที่เพิ่มระบบ Alarm Activity ตั้งค่าแจ้งเตือนเมื่อนั่งนาน
  • USB 3.0 รองรับ Fast Charge
  • ระบบล็อกปุ่ม ป้องกันการกดพลาด
  • Anti-Collision ระบบป้องกันการชนสิ่งกีดขวาง
  • การปรับความสูงขึ้นลง นิ่งและเงียบ ไหลลื่นไม่มีสะดุด
  • โต๊ะสามารถรับน้ำหนักได้มากถึง 100 kg

คุณสมบัติของวัสดุท็อปโต๊ะ

  • แข็งแรงทนทาน
  • ทนทานต่อรอยขีดขวน
  • ลดการเกาะของสิ่งสกปรก
  • กันน้ำ ทำความสะอาดง่าย
  • ทนความร้อน และไม่ดูดซับความร้อน

ปัจจุบัน บริษัทชั้นนำในต่างประเทศส่วนใหญ่ในอเมริกาและยุโรป อย่างเช่น Google, Facebook, Amazon, Netflix รวมถึงประเทศญี่ปุ่น เริ่มมีการปรับเปลี่ยนเทรนด์การทำงานรูปแบบใหม่ที่ไม่ใช่แค่การนั่ง แต่ให้พนักงานสามารถเลือกใช้โต๊ะทำงานแบบยืนได้อีกด้วย

4. คุณภาพของโต๊ะ

หากมองดูแต่สวยงามภายนอก ไม่เหมาะกับการใช้งาน อาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพขณะทำงานได้ในอนาคต ควรนึกถึงเวลาใช้งานจริงด้วย ที่เราต้องใช้เวลานั่งเป็นระยะเวลานานกับโต๊ะทำงานตัวนั้น ซึ่งปัญหาต่าง ๆ จะมาเกิดก็ตอนเวลาเรานั่งนาน ๆ นี่แหละ ดังนั้น คุณภาพโต๊ะที่ดีก็เป็นคุณสมบัติที่สำคัญที่จะทำให้เราสามารถใช้งานได้อย่างคุ้มค่าและเหมาะสมต่อการใช้งานในระยะยาว

โต๊ะปรับระดับไฟฟ้า Liv Desk คุณภาพระดับพรีเมียมที่ตอบโจทย์ทุกการใช้งานเพื่อ “ป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม”

หากมีข้อสงสัยในการพิจารณาเลือกซื้อโต๊ะทำงาน ทั้งขนาดความสูง ความกว้าง หรือพื้นใช้สอยให้ตรงตามความเหมาะสมของท่าน เราช่วยให้คำปรึกษาและแนะนำเพิ่มเติมได้ผ่านทาง: livdesk.com 

Sidebar